ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ "จริยธรรมเทคโนโลยีบนโลกดิจิทัล"  

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



       โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงคุณธรรมจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะ ตัวย่อว่า PAPAประกอบด้วย

       1.ความเป็นส่วนตัว(Information Privacy)หมายถึงสิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับ ผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจก บุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับ ความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้

       1.1การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูล ในเครื่องคอมพิวเตอร์รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไป ใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร

       1.2การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของ บุคคลซึ่งทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัวซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิด จริยธรรม

       1.3การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ พื่อผลประโยชน์ในการ ขยายตลาด

       1.4การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไป สร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่นดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิ ความเป็นส่วนตัว ของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียน ก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์

       2.ความถูกต้อง(Information Accuracy) ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการ รวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูล ด้วย โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูล ที่จัดเก็บและเผยแพร่ ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูก ต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำ เข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตนเองด้วย

       3.ความเป็นเจ้าของ(Information Property) สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับ ต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา(ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้เช่น บทเพลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่สามารถถ่ายทอดและ บันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้นโดยในการคัดลอก โปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบ คอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้นเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด

       4.การเข้าถึงข้อมูล(Data Accessibility) ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมี การกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วน เกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ดังนั้นในการพัฒนาระบบ คอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของ ผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการ ผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว

       

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม:
https://sites.google.com/
site/satawatkhom/2-criythrrm-keiyw-kab-kar-chi-thekhnoloyi-sarsnthes


จำนวนผู้เข้าชม
website hit counters

 
เว็บไซต์นี้เป็นผลงานรายวิชาโครงการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี โดยคุณครูสุดฤดี ประทุมชาติ
z