ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ "จริยธรรมเทคโนโลยีบนโลกดิจิทัล"

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ

      อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime)เป็นการกระทำที่ผิด กฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และ ข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าวส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยว เนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆซึ่งอาศัยหรือ มีความเกี่ยว เนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญา กรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง

      ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรม และ การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุง เวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญา กรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้ รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูล ที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการ จารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

      โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สิน ทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่ จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง คอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ ขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหารวมถึงนโยบายปัจจุบันและความ พยายามในการปัญหานี้

      อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่

      1.การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจใน การทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)

      2.การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่าโดยการ โจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆที่ เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์

      3.การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิ การเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)

     4.การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบโดยมี จุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไปโดยการ กระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยว ข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว

      5.ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการ กระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223การเผยแพร่ภาพ ลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุม ทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่าง กว้างขวาง

      6.ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับ การศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการ ใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้า หมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนด ทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อิน เทอร์เน็ตในทางที่ผิด

      

      

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม:
https://sites.google.com/
site/satawatkhom/2-criythrrm-keiyw-kab-kar-chi-thekhnoloyi-sarsnthes


จำนวนผู้เข้าชม
website hit counters
 
เว็บไซต์นี้เป็นผลงานรายวิชาโครงการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี โดยคุณครูสุดฤดี ประทุมชาติ
z