ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ "จริยธรรมเทคโนโลยีบนโลกดิจิทัล"

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดบนโลกดิจิทัล

      พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

      กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความ คุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้ว ทุกงาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์ หรือดำเนินการจด ทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้นเป็น การให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

      การละเมิดลิขสิทธิ์

      ทำซ้ำหรือดัดแปลง
      เผยแพร่ต่อสาธารณชน
      ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

      ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

      1.วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
      2.ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
      3.ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
      4.เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
      5.ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อ หรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
      6.ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการ พิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการ รายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
      7.นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและ ตอบในการสอบ
      8.ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
      9.จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน

       พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544

      พรบ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการกำหนดให้ผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลเทียบเท่ากับข้อมูลในรูปแบบกระดาษ (Functional –equivalent Approach) ความเป็นกลางทางเทคโนโลยีหรือความเป็นกลางของสื่อ (Technology Neutrality/Media Neutrality) รวมไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา (Party Autonomy) โดยพรบ.ฉบับนี้จะเข้ามามีผล ในการบังคับใช้ควบคู่ไปกับ กฎหมายฉบับอื่นที่มี อยู่แล้ว มิได้เข้ามาแทนที่การ บังคับใช้กฎหมายฉบับอื่น

       ประเด็นที่สำคัญ

      ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลผูกพันและบังคับ ใช้ทางกฏหมาย (มาตรา 7) การเก็บรักษาเอกสาร ต้นฉบับต้องมีวิธีการที่ สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่ เปลี่ยนแปลง มีความ ครบถ้วน และสามารถ นำมาอ้างอิงในภายหลังได้ (มาตรา 8,12)การรับรอง ลายมือชื่อ จะต้องใช้วิธีการที่มีความเชื่อถือได้ โดยสามารถระบุตัวเจ้าของ ลายมือชื่อและสามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อ นั้นยอมรับว่าเป็น ของตน (มาตรา 9) การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35)

       พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

      เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบ กิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบ คอมพิวเตอร์ไม่ สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงาน ผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคล อื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบ คอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะ อันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิด ความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประ ชาชน สมควรกำหนดมาตร การเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว

       ลักษณะความผิด

      1. การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์
              - การเข้าถึงระบบ (มาตรา 5)
              - การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ (มาตรา 6)
              - การรบกวนระบบ (มาตรา 10)

      2. การกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
              - การเข้าถึงข้อมูล (มาตรา 7)
              - การดักข้อมูล (มาตรา 8)
              - การรบกวนข้อมูล (มาตรา 9)
              - สแปมเมล์ (มาตรา 11)
              - การนำเข้า/เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 14)
              - การเผยแพร่ภาพตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท (มาตรา 16)

      3. การกระทำผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)

      4. การใช้ชุดคำสั่งกระทำความผิด (มาตรา 13)

      5. การกระทำความผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 15, มาตรา 26)

      6. การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 24)

      กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นของสังคม (Social Necessity)และเพื่อให้สังคมมีความเป็นปึกแผ่น (Solidality) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ตระหนักในปัญหาของ ประเทศชาติและความสำคัญของกฎหมายดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ในฐานะที่เป็น โครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย (Legal Infrastructure) โดยมีกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

      1. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) : เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวจากการนำข้อมูลของบุคคลไป ใช้ในทางมิชอบ

      2. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ Computer Relate Crime) : เพื่อคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารอันถือ เป็นทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง (Intangible Object)

      3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) : เพื่อคุ้มครองการ ทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต

      4. กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI ):เพื่อที่จะเอื้อให้มีการทำนิติกรรมสัญญา ทางอิเลคทรอนิกส์ได้

      5. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law) : เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในอันที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อการ ลงลายมือชื่อ

      6. กฎหมายการโอนเงินทางอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Funds Tranfer) : เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างหลักประกันที่มั่นคง

      7. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) : เพื่อวางกลไกในการเปิดเสรีให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม และมีประมิทธิภาพ ทั้งสร้างหลักประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ โทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง (Universal Service)

      8. กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศและการค้า ระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

      9. กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับอินเตอร์เน็ต

      10. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์

      

       พระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560

      1.การฝากร้านใน Facebook IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

      2.ส่ง SMS มาโฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ต้องมีทางเลือกให้ผู้ รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

      3.ส่ง e-Mail ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

      4.กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ. ยกเว้นการกด Like เรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม

      5.กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่ Share นั้นมีผลกระทบต่อ ผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3

      6.พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่ เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่างๆ รวมไปถึง Facebook ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับ ผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด

      7.ฉะนั้น Admin ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ. เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแล จะถือเป็นผู้พ้นผิด แต่หากไม่ยอมลบออก จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      8.การ Post สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

      9.การ Post เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็น การเชิดชู ชื่นชมอย่างให้เกียรติ

      10.การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

      11.การ Post ด่าว่าผู้อื่น มีกฎหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้ Post ได้ โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

      12.ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ

      13.ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

      

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม:
https://sites.google.com/
site/satawatkhom/2-criythrrm-keiyw-kab-kar-chi-thekhnoloyi-sarsnthes


จำนวนผู้เข้าชม
website hit counters

 
เว็บไซต์นี้เป็นผลงานรายวิชาโครงการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี โดยคุณครูสุดฤดี ประทุมชาติ
z